นั่งดูเพลินๆภาพกิจกรรม

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2555
วันนี้อาจารย์ให้สอบสอนในหน่วยเรื่องของตนเอง กลุ่มของดิฉัน

"หน่วย ฝนจ๋า"
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.เพื่อให้เด็กอธิบายการเกิดฝน 2.เพื่อให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก 3.เพื่อให้เด็กได้รับความสนุกสนาน 4.เพื่อให้เด็กแสดงความคิดเห็นร่วมกับครูและเพื่อน 5.เพื่อให้เด็กรู้จักการเรียงลำดับการเกิดฝน
6.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเลขฮินดู อาราบิก

สาระที่ควรเรียนรู้
การเกิดฝน
น้ำในที่ต่างๆเช่นห้วย หนอง คลองบึงได้รับความร้อนจนระเหยกลายเป็นไอลอยสูงขึ้นและรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆก้อนเมฆใหญ่จะลอยต่ำลงมากระทบความเย็นแล้วกลั่นเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- เด็กเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็ก
ด้านอารมณ์-จิตใ
- เด็กได้รับความสนุกสนาน
ด้านสังคม
- เด็กแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
- เด็กอธิบายการเกิดฝน
ด้านคณิตศาสตร์
- เด็กรู้จักเรียงลำดับการเกิดฝน
- เด็กเขียนตัวเลขฮินดู อาราบิก

กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
ขั้นนำ
1.ครูให้เด็กพูดคำคล้องจองตามทีละบรรทัด
2.ครูให้เด็กท่องคำคล้องพร้อมกัน

ขั้นสอน
1.ครูสนทนากับเด็กถึงเนื้อหาคำคล้องจอง ไอน้ำ
1.1ครูสนทนาโดยใช้คำถามในการเกิดฝน
เด็กๆคิดว่าฝนมาจากไหนค่ะ
เด็กคิดว่าน้ำกลายเป็นไอแล้วลอยไปไหนค่ะ
ก้อนเมฆลอยต่ำลงมากระทบกับอากาศอย่างไรค่ะ
2.ครูนำภาพการเกิดฝนให้เด็กๆดู
ขั้นสรุป
1.ครูให้ตัวแทนเด็กๆ ออกมาเรียงลำดับขั้นตอนการเกิดฝนโดยให้เขียนเลขฮินดูอาราบิก ลงในช่องใต้ภาพที่ครูเตรียมไว้
( ตัวแทน 1 คน ต่อ 1 ภาพ)

สื่อการจัดการเรียนการสอน
1.เพลง ไอน้ำ
ไอน้ำลอยตัวเป็นก้อนเมฆ
กอดเมฆกอดกันเป็นก้อนใหญ่
เมื่อโดนความร้อนกระทบใส่
ก้อนเมฆใหญ่กระจายเป็นเม็ดฝน
สดชื่น สดชื่น สดชื่น
2.ภาพการเกิดฝนตก

ประเมินการจัดการเรียนการสอน
สังเกตจากพฤติกรรม ดังนี้
1.เด็กเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว
2.เด็กสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำ
3.เด็กกล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นร่วมกับครูและเพื่อน
4.เด็กเรียงลำดับการเกิดฝนได้ถูกต้อง
5.เด็กเขียนตัวเลขฮินดูอาราบิกได้ถูกต้อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น